Thai SDA Church

Smile to the World and the World will smile back at you.

Chapter 3:ข่าวสารของพระเยซูถึงคริสตจักรทั้งเจ็ด

บทที่ 3          

*วันที่ 12 - 18 มกราคม 2019
ข่าวสารของพระเยซูถึงคริสตจักรทั้งเจ็ด

                     Jesus’s Messages to the Seven Churches
 

บ่ายวันสะบาโต

อ่านข้อพระคัมภีร์สำหรับบทเรียนสัปดาห์นี้


วิวรณ์ 2:8-11; วิวรณ์ 2:12-17; วิวรณ์ 2:18-29; วิวรณ์ 3:1-6;วิวรณ์ 3:7-13; วิวรณ์ 3:14-22; อิสยาห์ 61:10

ข้อควรจำ

 

“คนที่ชนะ เราจะให้เขานั่งกับเรา บนที่นั่งของเรา เหมือน อย่างที่เรามีชัยชนะแล้ว และได้นั่งกับพระบิดาของเราบนพระที่นั่งของพระองค์” (วิวรณ์ 3:21)

     จากเกาะปัทมอส พระเยซูทรงส่งจดหมายเจ็ดฉบับ ผ่านอัครทูตยอห์น เพื่อนำไปให้ประชากรของพระองค์ซึ่งอยู่ในเจ็ดคริสตจักรซึ่งตั้งอยู่ในเอเชีย ในสมัยของท่านยอห์น คริสตจักรเหล่านี้เป็นสัญลักษณ์ของสภาพของคริสตจักรตลอดประวัติศาสตร์ถ้านำเอาข่าวสารสำหรับคริสตจักรทั้งเจ็ดมาเปรียบเทียบกัน ข่าวสารจะดำเนินไปตามแนวของ “โครงสร้างหกส่วน” เหมือนกัน ส่วนแรกแต่ละฉบับเริ่มต้นด้วยข่าวสารของพระเยซู โดยระบุชื่อคริสตจักรเจาะจง ส่วนที่สองเริ่มต้นวลี “พระองค์ผู้........” ซึ่งพระองค์ทรงกล่าวแนะนำพระองค์เองให้แต่ละคริสตจักรรับทราบ โดยคำพรรณนาและสัญลักษณ์พบได้ใน บทที่ 1. คำพรรณนาเหล่านั้นของพระเยซูเหมาะสมลงตัวต่อความต้องการเฉพาะของแต่ละคริสตจักรเช่นนั้น พระเยซูทรงชี้ไปยังความสามารถที่จะตอบโจทย์สำหรับการดิ้นรนต่อสู้ในปัญหาและสถานการณ์ ต่อจากนั้นจะแนะนำว่าจะออกมาจากสถานการณ์ลำบากนั้นอย่างไร ในที่สุดแต่ละข่าวสารสรุปด้วยคำเชิญชวนให้รับฟัง “หัวใจของข่าวสาร” ซึ่งมาพร้อมกับพระสัญญาที่พวกเขาจะได้รับชัยชนะอย่างไร


      ตามที่เราได้พบในบทเรียนของสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ข่าวสารสำหรับคริสตจักรแรกเมืองเอเฟซัส และดังที่เราจะเห็นในสัปดาห์นี้ในการศึกษาข่าวสารที่เหลืออีกหกข่าวสาร เราจะเห็นว่าพระเยซูทรงเสนอความหวัง และคำตอบต่อความต้องการของแต่ละคริสตจักรในแต่ละสถาน-การณ์อย่างไรแน่นอนพระองค์ทรงสามารถตอบสนองต่อความต้องการในปัจจุบันของเราได้เช่นกัน

 

วันอาทิตย์  

ข่าวสารของพระคริสต์ถึงสเมอร์นา และเปอร์กามัม

        Christ’s Messages to Smyrna and Pergamum 


     สเมอร์นา เป็นเมืองที่งดงาม และมั่งคั่ง แต่ชาวเมืองได้รับคำสั่งเชิงบังคับให้ “การกราบไหว้จักรพรรดิ” ผู้ปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามคำสั่งในเรื่องนี้อาจนำไปสู่การสูญเสียสถานะทางกฎหมาย อาจถูกกดขี่ข่มเหง หรือถูกทรมานถึงตาย (martyrdom) หากเขาไม่ยอมเปลี่ยนความเชื่อ

     อ่านพระธรรมวิวรณ์ 2:8-11 พระเยซูทรงเสนอพระองค์เองต่อคริสตจักรนี้อย่างไร เกี่ยวเนื่องกับสถานการณ์ของคริสตจักร อะไรคือสถานการณ์ของคริสตจักร พระเยซูทรงกล่าวคำเตือนเรื่องอะไรแก่คริสตจักรเกี่ยวกับสิ่งที่กำลังจะมาถึง

     ข่าวสารสำหรับคริสตจักรในเมืองสเมอร์นา ประยุกต์ใช้เป็นคำพยากรณ์สำหรับคริสตจักรอื่นๆ ใน “ช่วงสมัยเดียวกัน” (postapostolic era) เมื่อคริสเตียนถูกข่มเหงอย่างรุนแรงโดยคำสั่งของจักรพรรดิโรมัน คำว่า “สิบวัน”กล่าวถึงใน วิวรณ์ 2:10 ชี้ถึง 10 ปี แห่งการครองราชย์สมัยจักรพรรดิไดโอ-คลีเชียน (Diocletian) ซึ่งมีคำสั่งให้ทำการกดขี่ข่มเหงคริสเตียน เริ่มจากปี ค.ศ. 303-313 และก่อนสิ้นปี ค.ศ. 313 จักรพรรดิ์คอนสแตนติน (Con-stantine)ขึ้นสู่บัลลังก์รัฐบาลโรมันพระองค์ได้ตรา “กฤษฎีกาแห่งมิลาน”ขึ้นซึ่งมีเนื้อหาอนุญาตให้คริสเตียนปฏิบัติศาสนาตามความเชื่อได้อย่างเสรี

        อ่านพระธรรมวิวรณ์ 3:7-13 พระเยซูทรงเสนอพระองค์เองในข่าวสารนี้เกี่ยวเนื่องกับสถานการณ์ของคริสตจักรแห่งนี้อย่างไรคำตรัสของ พระเยซูที่ว่า“เรารู้ว่าเจ้ามีกำลังเพียงเล็กน้อย” (วิวรณ์ 3:8)    บอกอะไรแก่เราเกี่ยวสถานการณ์ของคริสตจักร พระเยซูทรงสัญญาอะไรแก่คริสตจักรแห่งนี้


     เปอร์กามัมเป็นเมืองศูนย์กลางของลัทธิของคนนอกศาสนาหลากหลายลัทธิ รวมทั้งลัทธิของ “แอสคลีพิอัส” (Asclepius) ซึ่งเป็นเทพที่ชาวกรีกกราบไหว้ว่าเป็น “เทพแห่งการเยียวยา” ชาวกรีกเรียกเทพองค์นี้ว่า “เทพผู้ช่วยให้รอด” (the Savior) อีกชื่อหนึ่ง สัญลักษณ์ของเทพองค์นี้คือ “งูใหญ่”(a serpent) ผู้ศรัทธาในเทพองค์นี้ได้เดินทางจากทั่วสารทิศ เมื่อมากราบไหว้บูชา ณ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของเทพ “แอสคลีพิอัส” เพื่อให้พวกเขาหายจากโรคภัยต่างๆ นอกจากนี้ เปอร์กามัมมีบทบาทเป็นผู้ส่งเสริม “ลัทธิการกราบไหว้จักรพรรดิ” เหมือนกับที่เกิดขึ้นที่เมืองสเมอร์นา ซึ่งถือเป็นหน้าที่ของประชาชน
ต้องทำตาม (compulsory) ไม่สงสัยเลยที่ข้อพระคัมภีร์กล่าวว่า “เมืองนี้เป็นที่นั่งของซาตาน” คือที่บัลลังก์ของซาตานตั้งอยู่


     อ่านพระธรรมวิวรณ์ 2:12-15 พระเยซูทรงเสนอพระองค์เองแก่คริสตจักรนี้อย่างไร พระองค์ทรงประเมินค่าสถานการณ์ด้านจิตวิญญาณของพวกเขาอย่างไร

     คริสเตียนในเมืองเปอร์กามัมเผชิญกับการทดลองจากทั้งข้างนอก และข้างในคริสตจักร ขณะที่พวกเขาส่วนใหญ่ยังคงสัตย์ซื่อ แต่มีบางคนเชื่อถือคำสอนของ “นิโคเลาส์” ซึ่งสนับสนุนการประนีประนอมกับลัทธินอกศาสนาเพื่อหลีกเลี่ยงการข่มเหง อย่างการรับเอา “ลัทธินิโคเลาส์” ซึ่งเชื่อมโยงกับผู้เลื่อมใสลัทธินอกรีต อย่างเช่น “บาลาอัม” ผู้นำในการล่อลวงชนอิสราเอลให้ทำบาปต่อพระเจ้า ขณะที่พวกเขาเดินทางสู่แผ่นดินแห่งพระสัญญา (กันดารวิถี 31:16) ทั้งสองกลุ่มคือ “ลัทธินิโคเลาส์” และ “ลัทธิบาลาอัม” สองกลุ่มนี้ต่างสนับสนุนให้คล้อยตามศาสนา หรืออีกลัทธิหนึ่งที่พวกเขาพบว่ามีความสะดวกสบายกว่า หรือแม้แต่ได้รับผลดี ที่จะประนีประนอมความเชื่อของพวกเขาหรือการยอมรับแนวปฏิบัติของศาสนาที่ไม่มีพระเจ้า เพื่อหลีกเลี่ยงความยากลำบาก หรือการข่มเหง แม้มติที่ประชุมสภาอัครทูตแห่งกรุงเยรูซาเล็มจะห้ามแตะต้อง “สิ่งใดที่ได้บูชาแก่รูปเคารพ” หรือ “การผิดศีลธรรมทางเพศ” (กิจการฯ15:29) หลักคำสอนของ “บาลาอัม” สอนสมาชิกโบสถ์ให้ละทิ้งการตัดสินใจของสภาแห่งกรุงเยรูซาเล็ม วิธีแก้ปัญหาหนึ่งเดียวของพวกเขาที่พระเยซูทรงเสนอให้คือ “จงกลับใจใหม่” (วิวรณ์ 2:16)

     อ่านพระธรรมวิวรณ์ 2:16, 17 พระเยซูทรงเร้าใจให้คริสตจักรทำสิ่งใดเพื่อที่จะช่วยพวกเขาปรับปรุงสภาพชีวิตด้านวิญญาณจิตของพวกเขาให้ดีขึ้น พระเยซูทรงสัญญาอะไรแก่พวกเขาคริสตจักรแห่งเมืองเปอร์กามัม เป็นภาพแห่งคำพยากรณ์สำหรับคริสตจักรจากช่วงภายหลังปี ค.ศ. 313 แม้คริสเตียนบางคนสามารถดิ้นรนต่อสู้กับลัทธินอกศาสนา แต่มีหลายคนในคริสตจักรเริ่มจะประนีประนอมจาประมาณปี ค.ศ. 313-538 แม้สมาชิกบางคนในโบสถ์ยังคงสัตย์ซื่อต่อพระ-กิตติคุณ แต่พอมาถึงศตวรรษที่สี่ และที่ห้า จิตวิญญาณของพวกเขาเสื่อมถอยลง บ้างก็ได้ผละออกจากความเชื่อในพระเจ้าไป และความเสื่อมถอยด้านวิญญาณจิตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในช่วงเวลาดังกล่าวนี้ ผู้ที่ยังคงอยู่ในคริสต-จักรได้ปล้ำสู้กับการทดลองอย่างหนัก แต่เมื่อเวลาผ่านไป จำนวนผู้ยอมรับการประนีประนอมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

     คำกล่าวที่ว่า “เรารู้จักที่อยู่ของเจ้า ที่ซึ่งเป็นบัลลังก์ของซาตานถึงกระนั้นเจ้าก็ยึดมั่นในนามของเรา และไม่ปฏิเสธความเชื่อของเรา”หมายความว่าอย่างไร (วิวรณ์ 2:13; ดู วิวรณ์ 14:12 ด้วย) การปฏิเสธต่อความเชื่อของเรา จะช่วยเราให้ต่อต้านกับ “การประนีประนอม” ได้และอย่าลืมพระสัญญาอันมั่นคงที่ตรัสว่า “แต่เจ้าจงซื่อสัตย์จวบจนวันตาย” (วิวรณ์ 2:10)

วันจันทร์

ข่าวสารของพระคริสต์สำหรับคริสตจักรธิยาทิรา

  Christ’s Message to Thyatira


      อ่านพระธรรมวิวรณ์ 2:12-15 พระเยซูทรงเสนอพระองค์เองแก่คริสตจักรแห่งนี้อย่างไร พระองค์ทรงประเมินสภาวะด้านจิตวิญญาณของคริสตจักรแห่งนี้อะไรบ้างในการเปรียบเทียบกับเมืองอื่นๆ ธิยาทิรา ไม่มีความสำคัญทางด้านการเมืองหรือด้านวัฒนธรรม ซึ่งประวัติศาสตร์ของเมืองเท่าที่เราทราบยังคลุมเครือ แต่เมืองเป็นที่รู้จักในเรื่องการค้า ในอาณาจักรโรมันผู้ค้าขายจะต้องเป็นสมาชิกของ “สมาคมการค้า” (Guild) เมืองธิยาทิรามีบันทึกเรื่องการบังคับข้อกำหนดของสมาชิกสมาคมการค้าจะต้องมีส่วนในพิธี และงานฉลองของวิหาร บ่อยครั้งมักมีเรื่องผิดศีลธรรมรวมอยู่ด้วย ส่วนผู้ที่ไม่ยอมทำตามจะต้องพบกับการลงโทษด้านเศรษฐกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือถูกขับออกจากการเป็นสมาชิกของสมาคมการค้า สำหรับคริสเตียนที่ทำการค้าขายในเวลานั้นหมายถึงการจะต้องเลือกระหว่างการประนีประนอม หรือยอมถูกขับออกไปเพื่อเห็นแก่พระกิตติคุณ
    

      อ่านพระธรรมวิวรณ์ 2:18-29 พระเยซูทรงเสนอพระองค์เองต่อคนเหล่านี้อย่างไร (ดู ดาเนียล 10:6 ด้วย) คุณสมบัติอะไรที่พระเยซูทรง
สั่งให้คริสตจักรปฏิบัติ คริสตจักรแห่งนี้มีปัญหายุ่งยากอะไร

 

     เหมือนกับคริสตจักรในเมืองเปอร์กามัม คริสตจักรแห่งธิยาทิราถูกผลักดันให้ประนีประนอมกับสิ่งแวดล้อมของคนต่างศาสนา ชื่อพระนาง “เย-เซเบล” ซึ่งเป็นมเหสีของกษัตริย์ “อาหับ” แห่งประเทศอิสราเอล ผู้ได้นำชนอิสราเอลให้ผละเหินห่างจากพระเจ้า (1 พงศ์กษัตริย์ 16:31-33) พระเยซูทรงวาดภาพนางเป็นผู้ล่อลวงชนอิสราเอลให้ทำบาป (วิวรณ์ 2:20) เหล่าผู้เชื่อที่ประนีประนอมความจริงกับ “สิ่งที่ไม่สะอาด” ตามแนวคิด และการปฏิบัติของคนนอกศาสนาเท่ากับเป็นการล่วงประเวณีด้านจิตวิญญาณ กับเธอคริสตจักรแห่งเมืองธิยาทิราใช้เป็นสัญลักษณ์พรรณนาถึงสภาพของคริสตจักรคริสเตียนส่วนใหญ่ จากปี ค.ศ. 538-1565 ซึ่งเป็นช่วงเวลาของยุคกลาง อันตรายไม่ได้มาจากภายนอกคริสตจักร แต่จากผู้ที่อ้างว่าได้รับสิทธิอำนาจจากภายใน ช่วงเวลานี้ มีการนำเอา “ธรรมเนียมประเพณี” (tradition)เข้ามาแทนที่พระคัมภีร์ มีการแต่งตั้งปุโรหิตขึ้นจากตระกูลอื่น (พระเจ้าให้ตั้งจากตระกูลเลวี) มีของที่ระลึกศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ การทำดีหรือการกุศลอื่นหมายถึงความรอด ใครที่ไม่ยอมรับอิทธิพลที่เลวร้ายนี้ (corrupting) ที่คริสตจักรตั้งหรือจัดขึ้น หรือสอนจะถูกข่มเหง หรือแม้แต่ถูกฆ่า เป็นเวลาหลายศตวรรษคริสตจักรเที่ยงแท้ต้องแสวงหาที่ลี้ภัยในป่ากันดาร (ดู วิวรณ์ 12:6, 13, 14)พระเยซูทรงยกย่องคริสตจักรธิยาทิราสำหรับความเชื่อ และความรักของพวกเขา รวมถึงงานรับใช้อันนำไปสู่ปฏิรูปทางศาสนา (มีโปรเตสแตนต์เกิดขึ้น) ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการกลับมาสู่พระคัมภีร์

จงพิจารณาข้อความในวิวรณ์ 2:25 “ถึงอย่างไรก็ดี จงยึดมั่นสิ่งที่มีอยู่จนกว่าเราจะมา” ถ้อยคำเหล่านั้นมีความหมายอะไรสำหรับเราทั้งในกลุ่มผู้เชื่อและเราส่วนบุคคล เรามีอะไรที่ได้รับจากพระเยซู ที่เราต้องยึดไว้อย่างมั่นคง

 

วันอังคาร

ข่าวสารของพระคริสต์สำหรับคริสตจักรซาร์ดิส

Christ’s Message to Sardis

 

     เมืองซาร์ดิสเคยมีช่วงเวลารุ่งเรืองในประวัติศาสตร์ แต่ในช่วงสมัยของอาณาจักรโรมัน ชื่อเสียงของเมืองซาร์ดีสได้แผ่วลง แต่เมืองซาร์ดิสยังมีความมั่งคั่ง เพราะชื่อเสียงของเมืองวางบนรากฐานของประวัติศาสตร์ที่ผ่านมามากกว่าความเป็นจริงในปัจจุบัน เมืองเก่าแห่งนี้ถูกสร้างบนยอดเนินลาดเอียงของภูเขาลูกหนึ่ง ในกรณีนี้แทบเป็นไปไม่ได้ที่ข้าศึกจะเข้าโจมตี และยึดเมืองนี้ได้ ทำให้ประชากรของเมืองรู้สึกปลอดภัย กำแพงเมืองก็ไม่ต้องสร้างสูงใหญ่ทหารยามรักษาเมืองมีก็จริง แต่ไม่ต้องเฝ้าระวังเข้มแข็งนัก

     อ่านพระธรรมวิวรณ์ 3:1-6 พร้อมกันไปกับ มัทธิว 24:42-44และ 1 เธสะโลนิกา 5:1-8 สามสิ่งที่พระเยซูทรงหนุนใจคริสเตียนในเมืองซาร์ดิสทำมีอะไรบ้าง เพื่อเป็นการเยียวยาสภาวะด้านจิตวิญญาณของพวกเขาคำเตือนของพระเยซูที่ว่า “จงเฝ้าระวังอยู่” สอดคล้องกับประวัติศาสตร์ของเมืองนี้อย่างไร

      ขณะพระเยซูทรงตระหนักว่ามีคริสเตียนจำนวนไม่มากในคริสตจักรซาร์ดิสที่ยังคงความสัตย์ซื่อ ส่วนใหญ่ของพวกเขาตกอยู่ในสภาพตายฝ่ายวิญญาณ แต่คริสตจักรไม่ถูกต่อว่าในการทำบาปอย่างเปิดเผย หรือการละทิ้งความเชื่อไป (อย่างกับคริสตจักรเปอร์กามัม และธิยาทิรา) แต่พวกเขาตกอยู่ในสภาพเฉื่อยชาฝ่ายวิญญาณ

     ข่าวสารสำหรับคริสตจักรซาร์ดิสใช้เป็นคำพยากรณ์บอกถึงสถานการณ์ด้านวิญญาณจิตของคริสตจักรโปรเตสแตนต์ ในสมัยก่อนการปฏิรูปทางศาสนาจากช่วงเวลาประมาณ ค.ศ. 1565-1740 ขณะที่คริสตจักรเสื่อมทรามลง สู่การดำเนินชีวิตตามรูปแบบพิธีรีตองอย่างไร้ชีวิต และตกอยู่ในสภาวะความอิ่มอกอิ่มใจด้านวิญญาณจิต ภายใต้แรงกระทบของกระแส “การหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง และการรักในทางโลก” (rationalism and secularism) ความมุ่งมันไปสู่ความรอดด้วยพระกิตติคุณ และการอุทิศถวายชีวิตแด่พระคริสต์เสื่อมถอยลงมาก ปล่อยให้หลักความเชื่อที่แห้งแล้ง และการโต้เหตุผลในหลักปรัชญาเข้ามาแทนที่ คริสตจักรในช่วงนี้ แม้จะปรากฏเหมือนมีชีวิตชีวาแต่ด้านจิตวิญญาณกลับซังกะตาย


     ข่าวสารที่ถูกส่งไปในรูปจดหมายฝากสำหรับคริสตจักรทุกช่วงอายุของคริสเตียน มีคริสเตียนผู้พูดถึงยุครุ่งเรืองแห่งความสัตย์ซื่อต่อพระคริสต์ในอดีตของพวกเขา น่าเสียดายที่พวกเขาไม่มีอะไรมากนักที่จะแบ่งปันประสบการณ์กับพระคริสต์ในปัจจุบัน พวกเขาถือศาสนาแต่เพียงในนาม ขาดการถือปฏิบัติศาสนาจริงจังในดวงใจ และไม่ได้อุทิศถวายชีวิตให้กับพระกิตติคุณอย่างแท้จริง

     จงยกให้ “ความจริงยิ่งใหญ่แห่งความรอด” เป็นมาโดยความเชื่อในพระคริสต์เท่านั้น ในทางใดบ้างที่การดีของเราไม่อาจไปถึงขั้น “ดีสมบูรณ์ต่อพระพักตร์ของพระเจ้าได้” นั่นหมายความว่าอย่างไร และเราสามารถทำการดีจนถึงขั้น “ดีสมบูรณ์” ต่อหน้าพระพักตร์ของพระเจ้าได้หรือไม่ (ดู มัทธิว 5:44-48)

พุธ

ข่าวสารของพระคริสต์สำหรับคริสตจักรฟีลาเดลเฟีย

Christ’s Messages to Philadelphia


     คริสตจักรที่หกพระเยซูทรงกล่าวถึงคือ คริสตจักรฟีลาเดลเฟีย (“ความรักพี่น้อง”) เมืองนี้ตั้งบนถนนแห่งการค้าของอาณาจักร และรับใช้เป็นเส้นทางหลักของ “ประตูที่เปิด” ไปยังที่ราบสูงดินดีอุดม การขุดค้นทางโบราณคดีบ่งบอกว่าเมืองนี้เป็นศูนย์กลางของผู้คนที่เดินทางมาเพื่อสุขภาพ และการเยี่ยวยาแต่เมืองนี้เกิดแผ่นดินไหวบ่อยครั้ง ประชากรของเมืองนี้จึงย้ายออกไปสร้างบ้านเรือนยังพื้นที่ชนบทนอกเมือง และอาศัยอยู่ในบ้านที่ปลูกสร้างง่ายๆ อย่างสมถะ

     อ่านพระธรรมวิวรณ์ 3:7-9 พระเยซูทรงเสนอพระองค์เองเกี่ยวเนื่องกับสถานการณ์ของคริสตจักรนี้อย่างไร คำกล่าวของพระเยซูที่ว่า "เรารู้ว่าเจ้ามีกำลังเพียงน้อย” (วิวรณ์ 3:8) บ่งบอกถึงสถานการณ์ของคริสตจักรอย่างไร

     ข่าวสารสำหรับคริสตจักรนี้ใช้เป็นคำพยากรณ์กล่าวถึง “การฟื้นฟูยิ่งใหญ่ของโปรเตสแตนต์ระหว่าง “การตื่นตัว” (Awakenings) ครั้งที่หนึ่ง และที่สอง ที่เกิดขึ้นในประเทศ “อังกฤษ, เวลล์ และสกอตแลนด์” (Great Britain)และอเมริกาจากประมาณ ค.ศ. 1740-1844 พวกเขาส่องแสงที่พวกเขามีออกไปประชากรของพระเจ้าแสวงหาทางที่จะรักษา “ถ้อยคำของเรา” (วิวรณ์ 3:8)ในช่วงเวลานี้ มีการกล่าวเน้นเพิ่มขึ้นเรื่อง “การเชื่อฟังพระบัญญัติของพระเจ้าและดำเนินชีวิตอย่างบริสุทธิ์” “ประตูที่เปิดไว้” ปรากฏชัดว่าเป็นเส้นทางสู่พระวิหารบนสวรรค์ เพราะว่า “เป็นพระวิหารของพระเจ้าของเรา” ซึ่งถูกกล่าวถึงใน (วิวรณ์ 3:12 เปรียบเทียบ วิวรณ์ 4:1, 2) ประตูหนึ่งถูกปิดลง และอีกประตูเปิดออก ซึ่งชี้ไปยังการเปลี่ยนแปลงซึ่งจะเกิดขึ้นใน พันธกิจการรับใช้ในฐานะมหาปุโรหิตของพระคริสต์ในปี ค.ศ. 1844

     อ่านพระธรรมวิวรณ์ 3:10-13 ซึ่งบ่งบอกให้ทราบถึง เวลาอันสั้น และการเสด็จกลับมาของพระเยซูย่างใกล้เข้ามา อะไรคือความสำคัญของพระนามของพระเจ้าที่ถูกเขียนบนประชากรของพระองค์(2 ทิโมธี 2:19) ถ้าชื่อเป็นตัวแทนถึงลักษณะนิสัยของบุคคล อย่างพระธรรมอพยพ 34:6 บอกเราว่าใครเป็นผู้ใช้ชื่อของพระเจ้า

     การฟื้นฟูครั้งใหญ่เกิดขึ้นในคริสตจักรต่างๆ ทั้งสองฟากของมหาสมุทรแอตแลนติก ในหลายปีซึ่งนำสู่จุดสุดยอดในปี ค.ศ.1844 ข่าวสารเรื่อง การเสด็จกลับมาในไม่ช้าของพระคริสต์ถูกประกาศออกไปในหลายพื้นที่ของโลกพระสัญญาที่กล่าวว่า จะมีการเขียนพระนามของพระเจ้าไว้บนเหล่าผู้ประสบชัยชนะบ่งบอกว่า พระลักษณะนิสัยของพระเจ้าจะพบเห็นได้ในประชากรของพระองค์ ซึ่งเรื่องนี้มีความสำคัญขณะที่ข่าวสารการเสด็จกลับมาในไม่ช้าของพระคริสต์ถูกประกาศออกไป เป็นข่าวสารที่พระคริสต์ตรัสสัญญาไว้ เพื่อจะทำให้ประชากรของพระองค์เตรียมความพร้อมสำหรับเหตุการณ์ใหญ่นั้น โดยการอภัยบาปให้กับความบาปของพวกเขา และจะทรงเขียนบัญญัติของพระองค์ลงบนดวงใจของพวกเขา (ดู ฟีลิปปี 1:6; ฮีบรู 10:16, 17)

     ความหวังในการเสด็จกลับมาในไม่ช้าของพระคริสต์ มีความหมายอะไรสำหรับคุณ การที่พระคริสต์ทรงสัญญาจะทำให้งานที่พระองค์ได้ทรงเริ่มต้นไว้สำเร็จลง เป็นการให้ความมั่นใจแก่เราอย่างไร

วันพฤหัสบดี

คริสเตียนในคริสตจักรเลาดีเซีย

Christians in Laodicea


     คริสตจักรสุดท้ายที่พระเยซูทรงเสนอพระองค์เองคือคริสตจักรแห่งเมืองเลาดีเซีย เป็นเมืองมั่งคั่งตั้งอยู่บนถนนสายการค้าหลักสายหนึ่ง เมืองนี้มีชื่อเสียงในอุตสาหกรรมการทอผ้าขนสัตว์ มีผู้พบทองคำบนฝั่งลำธารไม่ห่างตัวเมืองในปริมาณมหาศาล เมืองเลาดีเซียมีโรงเรียนแพทย์ ซึ่งนอกจากการผลิตแพทย์ ยังมีการปรุงยารักษาโรคตาที่มีชื่อเสียง ความรุ่งเรืองของเมืองทำให้ประชากรรู้สึกภูมิใจ และคิดว่าพวกตนมีความพอเพียงในตนเองทุกอย่างในราวปี ค.ศ. 60 เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ทำให้บ้านเรือน และสิ่งปลูกสร้างหักพังลงเป็นบริเวณกว้าง แต่ประชาชน โดยคณะกรรมการเมืองไม่ขอรับการช่วยเหลือที่รัฐบาลโรมันเสนอให้ โดยอ้างว่าพวกเขามีทุกสิ่งพอเพียงที่จะบูรณะตัวเมืองขึ้นได้เอง หลังแผ่นดินไหวชาวเมืองตระหนักว่าพวกตนขาดแคลนน้ำบริโภค-อุปโภคไประยะหนึ่งเพราะท่อระบายน้ำ สร้างตามเทคนิคของชาวโรมมันที่เรียกว่า “อะเควดัคท์” (aqueduct) ได้รับความเสียหายหนัก แหล่งน้ำคือบ่อน้ำพุร้อนแห่ง “ไฮราโพลิส” ซึ่งอยู่ห่างออกไปหลายกิโลเมตร กระนั้นเมื่อน้ำไหลมาถึงตัวเมืองน้ำยังอุ่นอยู่

     อ่านพระธรรมวิวรณ์ 3:14-17 พร้อมกันไปกับ โฮเชยา 12:8ความรู้สึกของชาวเมืองเลาดีเซีย ที่ว่าพวกตนมีทุกสิ่งพอเพียงด้วยตนเอง ได้แผ่ซ่านไปครอบคลุมชาวคริสเตียนแห่งเมืองเลาดีเซีย ให้รู้สึกว่าพวกตนมีความพอเพียงด้านจิตวิญญาณอย่างไร

     พระเยซูไม่ทรงว่ากล่าวคริสเตียนในเมืองเลาดีเซียสำหรับความบาปร้ายแรงใด เช่นว่า “เป็นคนนอกรีต” หรือ “ถอยห่าง-ละทิ้งพระเจ้า” แต่ปัญหาของพวกเขาคือ “ความอิ่มอกอิ่มใจ” (complacency) ความรู้สึกในด้านวิญญาณเช่นนี้จะนำไปสู่ ความเฉื่อยชาด้านจิตวิญญาณ ซึ่งเหมือนกับน้ำจากบ่อน้ำพุร้อนซึ่งเมื่อไหลมาตามท่อเมื่อถึงตัวเมืองยังอุ่นอยู่ พระเยซูตรัสว่า “เพราะเจ้าเป็นแต่อุ่นๆ ไม่ร้อนและไม่เย็น เราจะคายเจ้าออกจากปากของเรา” (วิวรณ์3:16) “เจ้าพูดว่า “ข้าร่ำรวยแล้ว ข้าไม่ต้องการสิ่งใดเลย เจ้าไม่รู้ว่าเจ้าเป็นคนน่าสมเพช น่าสังเวช เจ้ายากจน ตาบอด และเปลือยกาย” (วิวรณ์ 3:17)ในฝ่ายจิตวิญญาณ

     สภาพของคริสตจักรเลาดีเซียเป็นสัญลักษณ์ด้านจิตวิญญาณของคริสตจักรของพระเจ้า ในช่วงใกล้สิ้นสุดของประวัติศาสตร์โลก ซึ่งมีสายเชื่อมต่อให้เห็นส่วนหนึ่งของพระธรรมวิวรณ์ การเชื่อมต่อนี้จะเห็นได้จากคำเตือนของพระเยซูในพระธรรมวิวรณ์ซึ่งเขียนไว้ในวงเล็บ “นี่แน่ะเรากำลังมาเหมือนอย่างขโมย คนที่ตื่นอยู่และรักษาเสื้อผ้าของตนไว้ก็เป็นสุข เพราะว่าเขาไม่ต้องเดินเปลือยกายให้คนทั้งหลายเห็นสภาพอันน่าอับอาย) (วิวรณ์ 16:15)พระคริสต์แนะ “ให้ซื้อเสื้อผ้าสีขาว เพื่อจะได้สวมให้พ้นความอับอายที่ต้องเปลือยกาย และซื้อยาหยอดตาของเจ้าเพื่อเจ้าจะได้เห็น” (วิวรณ์ 3:18)

     การเตือนให้คนหนึ่งรักษาเสื้อผ้าของตนไว้นี้ เพื่อจะไม่ปรากฏตัวเปลือยกาย ซึ่งอ้างถึงการสงครามฝ่ายจิตวิญญาณแห่ง “อารมาเกดโดน”(Armageddon) ช่วงเวลาการเตือนของพระเยซูอาจดูเหมือนจะค่อนข้างแปลก ประการแรก เพราะเป็นไปไม่ได้อีกต่อไปที่จะได้รับเสื้อผ้าเหล่านั้นยิ่งกว่านั้นช่วงเวลาแห่งการภาคทัณฑ์ หรือ “การผ่อนผัน” (probation) ได้ปิดไปแล้วสำหรับทุกคน แต่การเตือนให้แต่ละคนรักษาเสื้อผ้าของตนเชื่อมโยงกับภัยพิบัติประการที่หก และสงครามอารมาเกดโดน เพราะว่าพระเยซูทรงประสงค์จะกล่าวเตือนชาวเมืองเลาดีเซียเป็นการล่วงหน้าถึง “ความขัดแย้งอันน่ากลัว” ก่อนที่จะสายเกินไป เช่นนั้น พระธรรมวิวรณ์ 16:15 เตือนผู้เชื่อชาวเลาดีเซีย ถ้าพวกเขาล้มเหลวเพราะไม่ใส่ใจคำแนะนำของพระเยซู และยังคงเลือกที่จะปล่อยให้ร่างกายเปลือยเปล่าต่อไป (วิวรณ์ 3:17, 18) พวกเขาจะพบกับความพินาศ เมื่อพระองค์เสด็จกลับมาครั้งที่สอง (ดู 1 ยอห์น 2:28-3:3)

     พระเยซูทรงให้ความมั่นใจแก่ชาว “เลาดีเซีย” ว่าพระองค์ทรงรักพวกเขา และพระองค์กล่าวเชิญชวนให้พวกเขากลับใจใหม่ (วิวรณ์ 3:19)พระองค์ทรงสรุปการเชิญชวนโดยการวาดภาพพระองค์ประดุจนักรักในพระธรรมเพลงซาโลมอน 5:2-6 ทรงยืนที่ประตูและเคาะอ้อนวอนให้เปิดประตูและพระองค์จะเข้าไป “นี่แน่ะ เรายืนอยู่ที่ประตู ถ้าใครได้ยินเสียงของเรา และเปิดประตู เราจะเข้าไปหาเขา และจะรับประทานอาหารร่วมกับเขา และเขาจะรับประทานอาหารร่วมกับเรา” (วิวรณ์ 3:20) ทุกคนที่เปิดประตู และเชิญให้พระองค์เข้าไป เท่ากับได้รับประทานอาหารอย่างใกล้ชิดกับพระองค์ และในที่สุดได้ครอบครองกับพระองค์ บนบัลลังก์ของพระองค์ (ดู วิวรณ์ 20:4) การเชื้อเชิญนี้ไม่ควรจะมีใครพลาดไป

     อ่านพระธรรมวิวรณ์ 3:18-22 พระเยซูทรงให้คำแนะนำอะไรแก่ชาวเลาดีเซีย อะไรคือสัญลักษณ์ของทองคำ อะไรคือเสื้อผ้าสีขาวและอะไรคือน้ำมันทาตา (ดู 1 เปโตร 1:17; อิสยาห์ 61:10; เอเฟซัส 1:17,18) คำแนะนำนี้กล่าวอะไรกับเราซึ่งเป็นเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีส ใครมองเห็นตัวเราเองเป็นดุจคริสตจักรเลาดีเซียบ้าง

 

วันศุกร์ ศึกษาเพิ่มเติม:

 

     อ่านหนังสือของ เอลเลน จี. ไว้ท์, กิจการของอัครทูต ในบท “พระธรรมวิวรณ์”, หน้า 578-592


     ข่าวสารทั้งเจ็ดส่งถึงคริสตจักรทั้งหลาย แสดงให้เห็นความเสื่อมถอยทั้งในเจ็ดคริสตจักร คริสตจักรในเมืองเอเฟซัส ยังคงความสัตย์ซื่อ แม้ว่าคริสตจักรจะสูญเสียความรักแรกไปแล้ว คริสตจักรในเมืองสเมอร์นา และฟีลาเดลเฟีย ส่วนใหญ่มีความสัตย์ซื่อ คริสตจักร เปอร์กามัม และ ธิยาทิราผู้เชื่อในสองคริสตจักรทั้งสองต่างประนีประนอมกับทางโลกมาก และมากขึ้นจนกระทั่งผู้เชื่อส่วนมากได้เหินห่างจากพระเจ้าไปจากความเชื่อบริสุทธิ์ของเหล่าอัครทูต คริสตจักรในเมืองซาร์ดีส ตกอยู่ในสถานการณ์ยากลำบากยิ่งนัก ผู้เชื่อส่วนมากในคริสตจักรแห่งนี้ดำเนินชีวิตไม่สอดคล้องกับพระกิตติคุณขณะที่คริสตจักร ฟีลาเดลเฟีย เป็นตัวแทนของผู้ที่สัตย์ซื่อจำนวนน้อยคริสตจักรในเมือง เลาดีเซีย ตกอยู่สภาพที่ไม่มีอะไรดี ที่พูดเกี่ยวคริสตจักรแห่งนี้

     ในการสรุปข่าวสารที่ให้แต่ละคริสตจักร พระเยซูทรงสัญญาแก่เหล่าผู้รับคำแนะนำของพระองค์ คนหนึ่งอาจถือรักษา อย่างไรก็ดีเมื่อดำเนินชีวิตร่วมกับสมาชิกอื่นๆ ในคริสตจักรที่ปรากฏว่าเสื่อมถอยฝ่ายวิญญาณจิต เมื่อคิดเป็นอัตราส่วนแล้วพระคริสต์ทรงประทานพระสัญญาเพิ่มขึ้น คริสตจักรแห่ง เอเฟซัส คริสตจักรแรกที่พระเยซูทรงประทานข่าวสารให้ ซึ่งรับเอาเพียงพระสัญญาเดียว ขณะที่แต่ละคริสตจักรติดตามแนวโน้มลาดต่ำลงในฝ่ายวิญญาณจิต แต่ละคริสตจักรรับเอาพระสัญญามากข้อขึ้นกว่าที่ทรงประทานให้คริสตจักรก่อนหน้า ในที่สุดคริสตจักรเลาดีเซีย ซึ่งทรงประทานให้เพียงพระ-สัญญาเดียว ได้รับพระสัญญาข้อยิ่งใหญ่ที่สุด คือจะนั่งบัลลังก์ร่วมกับพระเยซู(วิวรณ์ 3:21)

คำถามเพื่อการอภิปราย:

 

1. พระสัญญาที่ประทานให้แต่ละคริสตจักรเพิ่มขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับชีวิตฝ่ายวิญญาณจิตของคริสตจักรทั้งหลายที่เสื่อมคลายลงซึ่งสะท้อนว่า เมื่อความบาปเพิ่มขึ้น พระคุณจะเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม (โรม 5:20) อย่างไร จากข้อความนี้ “แม้คริสตจักรจักรจะอ่อนกำลังและมีข้อบกพร่อง แต่เป็นพระประสงค์ของพระคริสต์ที่จะทรงเอาพระทัยใส่อย่างเต็มที่ ด้วยความห่วงใย เพื่อเสริมกำลังด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระองค์” (เอลเลน จี. ไว้ท์,Selected Message, เล่ม 2, หน้า 396)

2. บ่อยครั้งคริสเตียนพูดว่า เป็นการยากที่จะเป็นคริสเตียนที่อยู่ในวงการอุตสาหกรรม แวดวงการค้าหรืออาศัยอยู่เมืองใหญ่ หรือปริมณฑล ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน มีคริสเตียนอาศัยอยู่ในเมืองที่เจริญรุ่งเรืองจำนวนไม่น้อยในเอเซีย ซึ่งเป็นผู้รักษาความสัตย์ซื่อต่อพระกิตติคุณไว้ได้ และความเชื่อในพระเข้าของพวกเขาไม่หวั่นไหว ท่ามกลางความกดดันที่มีต่อพวกเขาจากคู่ค้า หรือผู้อยู่แวดล้อมที่เป็นผู้เชื่อในศาสนาที่แตกต่าง เราสามารถเรียนรู้อะไรจากข้อเท็จจริงเหล่านี้ได้ ให้คิดถึงแสงสว่างจากคำอธิษฐานของพระเยซูในพระธรรมยอห์น 17:15-19 และคิดถึงคำกล่าวที่ว่า“เราอยู่ใน โลกแต่เราไม่เป็นของโลกนี้” เพื่อนำมาใช้สำหรับการดำเนินชีวิตคริสเตียนของเราในวันนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะที่เราทำงาน หรือดำเนินธุรกิจในเมืองใหญ่ เมืองหลวง หรือเมืองปริมณฑลทั้งหลาย

3. ในฐานะที่เป็นเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีส เราจะเอาใจใส่ข่าวสารที่พระคริสต์ทรงประทานให้เราผ่านคริสตจักร “เลาดีเซีย” อย่างไร