บทที่ 3
ทรรศนะของพระเยซูและเหล่าอัครทูตต่อพระคัมภีร์
Jesus and the Apostles' view of the Bible
วันที่ 11 – 17 เมษายน 2020
บ่ายวันสะบาโต April 11
อ่านข้อพระคัมภีร์สำหรับบทเรียนสัปดาห์นี้
มัทธิว 4:1-11; มัทธิว 22:37-40; ลูกา 24:13-35, 44, 45; ลูกา 4:25-27; กิจการฯ 4:24-26
ข้อควรจำ
“พระองค์ตรัสตอบว่า “มีพระคัมภีร์เขียนไว้ว่า มนุษย์จะดำรงชีวิตด้วยอาหารเพียงอย่างเดียวไม่ได้ แต่ต้องดำรงชีวิตด้วยพระวจนะทุกคำซึ่งออกมาจากโอษฐ์ของพระเจ้า” (มัทธิว 4:4)
น่าเสียดายยิ่งในสังคมยุคใหม่ที่พระคัมภีร์ได้รับการตีความหมายใหม่ ผ่านปรัชญาที่มีคำถามทั้งเรื่องการดลใจ และสิทธิอำนาจ ที่จริงพระคัมภีร์ถูกมองเห็นเป็นเพียงแนวคิดของมนุษย์ที่มีชีวิตในวัฒนธรรมดั้งเดิม ที่ไม่เข้าใจโลกเหมือนเราในปัจจุบัน ในเวลาเดียวกัน พลังเหนือธรรมชาติหรือการอัศจรรย์ถ้าไม่ถูกมองอย่างดูหมิ่น ก็จะถูกตัดทิ้งไปโดยถือว่าพระคัมภีร์เป็นเอกสารทางศาสนา แทนที่จะเป็นทรรศนะของพระเจ้าที่มีต่อมนุษย์ แต่กลายเป็นเรื่องของพระเจ้าตามความคิดของมนุษย์ ผลที่ตามมาคือ คนจำนวนมากคิดว่าพระคัมภีร์ไม่ตรงกับความต้องการของคนสมัยนี้ที่อยู่ในยุคที่ผู้คนมีแนวคิดของ ชาล์ส ดาร์วิน และปรัชญาสมัยใหม่
อย่างไรก็ดีเราปฏิเสธแนวคิดแบบนั้น เพราะในพระคัมภีร์ใหม่ทั้งเล่มเราเห็นภาพของพระเยซู และเหล่าอัครทูตมีความเข้าใจในพระคัมภีร์เดิม คือพระธรรม 39 เล่มรวมเป็นหนึ่งเดียว พวกเขาเห็นพระคัมภีร์เดิมมีส่วนเกี่ยวพันกับผู้คน สถานที่ และพรรณนาถึงเหตุการณ์อย่างไร รวมถึงการสันนิษฐานและวิธีการตีความหมายที่ตามมา ให้เราติดตามความเข้าใจของพวกเขา และเปรียบเทียบกับความคิดเห็นที่ผิดของคนยุคใหม่ที่ตั้งข้อสมมติเอาเอง ซึ่งมีแต่จะนำไปสู่การสงสัยเกี่ยวพระวจนะของพระเจ้า
-----------------------------------------------------------------
April 12
Sunday
วันอาทิตย์ สิ่งที่ถูกเขียนไว้
It Is Written
พระเยซูทรงเริ่มพระราชิกจของพระองค์ในฐานะพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยการรับบัพติศมาจากยอห์นผู้ให้บัพติศมา หลังจากนั้นพระวิญญาณได้นำพระองค์ไปในถิ่นทุรกันดารของแคว้นยูเดีย ทรงอดพระยาหารสี่สิบวัน ขณะที่ร่างกายมนุษย์ของพระองค์ถึงจุดอ่อนกำลังที่สุด พระองค์ถูกซาตานทดลอง
อ่านพระธรรมมัทธิว 4:1-11 พระเยซูทรงปกป้องพระองค์เองต่อการทดลองของซาตานในถิ่นทุรกันดารอย่างไร เราได้เรียนรู้อะไรจากพระคัมภีร์ตอนนี้
เมื่อถูกทดลองให้อยากอาหาร พระเยซูทรงตอบซาตานว่า “พระคัมภีร์เขียนไว้ว่า มนุษย์จะดำรงชีวิตด้วยอาหารอย่างเดียวไม่ได้ แต่ต้องดำรงชีวิตด้วยพระวจนะทุกคำซึ่งออกมาจากพระโอษฐ์ของพระเจ้า” (มัทธิว 4:4) พระเยซูทรงชี้ไปยังพระวจนะแห่งชีวิตและยืนยันถึงสิทธิอำนาจสูงสุดของพระคัมภีร์ เมื่อพระเยซูทรงถูกทดลองให้รับเอาอาณาจักรและสง่าราศีของโลก พระองค์ทรงตอบว่า “พระคัมภีร์มีเขียนไว้ว่า ‘จงกราบนมัสการองค์พระผู้-เป็นเจ้าผู้เป็นพระเจ้าของท่าน ปรนนิบัติพระองค์แต่ผู้เดียว’” (มัทธิว 4:10; ลูกา 4:8) พระคริสต์ทรงเตือนความทรงจำของเราว่า การนมัสการแท้คือการมุ่งไปที่พระเจ้า ไม่ใช่ผู้หนึ่งผู้ใด และการยอมรับพระวจนะของพระองค์อย่างสิ้นเชิงเป็นการนมัสการแท้ การทดลองสุดท้ายพระเยซูทรงตอบว่า “พระคัมภีร์เขียนไว้ว่า ‘อย่าทดลององค์พระผู้เป็นเจ้าผู้เป็นพระเจ้าของท่าน’” (มัทธิว 4:7; ลูกา 4:12)
การทดลองทั้งสามครั้ง พระเยซูทรงตอบโดยเริ่มด้วยประโยคว่า “มีคำเขียนไว้ว่า” นั่นคือ พระเยซูทรงใช้พระวจนะของพระเจ้า และไม่มีสิ่งใดอีก นี่ควรเป็นบทเรียนอันทรงพลังสำหรับเราทั้งปวงว่า พระคัมภีร์ และพระคัมภีร์เท่านั้น เป็นมาตรฐานและเป็นพื้นฐานสูงสุดของความเชื่อของเรา
ถูกแล้ว พระคัมภีร์และพระคัมภีร์เท่านั้นเป็นวิธีการของพระเยซูที่ทรงใช้ในการต่อต้านศัตรู พระเยซูทรงเป็นพระเจ้า แต่ในการต่อต้านซาตาน พระองค์ทรงมอบถวายอย่างหมดสิ้นต่อพระวจนะของพระเจ้า
นี่ไม่ใช่ข้อคิดเห็นที่ประณีตซับซ้อน ไม่ใช่การโต้เถียงอย่างมีศิลปะ และไม่ใช่การใช้ถ้อยคำแสดงความเกลียดชัง แต่เป็นการกล่าวคำง่ายๆ ที่ลึกซึ้ง สำหรับพระคริสต์แล้วพระคัมภีร์เป็นสิทธิอำนาจอันยิ่งใหญ่และทรงพลัง พระองค์ทรงเริ่มด้วยพื้นฐานอันมั่นคง และเสริมอย่างต่อเนื่องด้วยการไว้วางใจพระคัมภีร์
เราซื่อตรง วางใจ และยอมจำนนต่อพระวจนะของพระเจ้าได้อย่างไร
-----------------------------------------------------------------
April 13
Monday
วันจันทร์ พระเยซูและธรรมบัญญัต
Jesus and the Law
อ่านพระธรรมมัทธิว 5:17-20; มัทธิว 22:29 และ มัทธิว 23:2,3พระเยซูทรงสอนอะไรในเรื่องเหล่านี้
พระเยซูทรงสอนอัครทูตทั้งหลายของพระองค์ให้เชื่อฟังพระวจนะของพระเจ้าและธรรมบัญญัติ ไม่มีการพูดเป็นนัยว่าพระองค์กำลังสงสัยถึงสิทธิอำนาจหรือการไม่สอดครล้องของพระคัมภีร์ ตรงกันข้ามพระองค์อ้างอย่างไม่หยุดหย่อนว่าพระคัมภีร์เป็นสิทธิอำนาจของพระเจ้า และพระองค์ตรัสกับพวกสะดูสีว่า “ท่านทั้งหลายผิดแล้ว เพราะท่านไม่รู้พระคัมภีร์ หรือฤทธิ์เดชของพระเจ้า” (มัทธิว 22:29) และพระเยซูยังทรงสอนว่า เพียงการมีความรู้เรื่องพระคัมภีร์ และคำสอนของพระคัมภีร์ยังไม่พอที่จะรู้จักความจริง เพราะที่สำคัญกว่า คือการรู้จักองค์พระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงเป็นความจริง
พระธรรมมัทธิว 22:37-40 บอกเราถึงทัศนะของพระเยซูต่อธรรมบัญญัติของท่านโมเสสอย่างไร
พระเยซูทรงตอบผู้เชี่ยวชาญธรรมบัญญัติเกี่ยวกับพระบัญญัติสิบประการ ซึ่งพระเจ้าทรงประทานให้โมเสสเกือบ 1,500 ปีก่อนหน้านี้ ทำให้ตระหนักว่าพระเยซูทรงเน้นไปที่ธรรมบัญญัติของพระคัมภีร์เดิม และทรงยกขึ้นสู่ระดับสูงสุด คริสเตียนหลายคนกล่าวอย่างไม่ถูกต้องว่าพระเยซูทรงประทาน “พระบัญญัติใหม่” ดังนั้นพระกิตติคุณในพันธสัญญาใหม่จึงเข้ามาแทนที่พระบัญญัติเดิม แต่ความจริงมีว่า สิ่งที่พระเยซูกำลังสอนมีพื้นฐานจากพระคัมภีร์เดิม พระคริสต์ทรงเปิดม่านและเผยให้เห็นธรรมบัญญัติเต็มทุกมิติว่า ที่ตรัสถึงพระบัญญัติทั้งสอง นั้นเป็นการสรุปพระบัญญัติสิบประการออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกพระบัญญัติข้อที่หนึ่งถึงสี่ มุ่งไปที่ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า ส่วนสี่สองพระบัญญัติข้อห้าถึงสิบมุ่งไปที่ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกันเอง พระเยซูทรงสรุปว่า “ธรรมบัญญัติ และคำของผู้เผยพระวจนะทั้งหมดก็ขึ้นอยู่กับพระบัญญัติสองข้อนี้” (มัทธิว 22:40) ในลักษณะนี้ พระเยซูทรงยกพระคัมภีร์เดิมทั้งเล่มขึ้น เมื่อพระองค์ตรัสว่า “ธรรมบัญญัติและคำของผู้เผยพระวจนะทั้งหมด” เพราะนี่เป็นวิธีสั้นที่สุดในการอ้างถึงธรรมบัญญัติ ผู้เผยพระวจนะ และงานเขียนทั้งปวง หรือทั้งหมดของสามภาค ของพระคัมภีร์เดิม “พระคริสต์ทรงชี้ไปที่พระคัมภีร์ ว่าเป็นสิ่งที่ปราศจากคำถามในเรื่องสิทธิอำนาจ เราควรทำอย่างเดียวกัน คือนำเสนอพระคัมภีร์ทั้งเล่มเป็นพระวจนะของพระเจ้าผู้ทรงเป็นอยู่นิรันดร์ ทรงเป็นจุดจบของความขัดแย้งทั้งปวง และทรงเป็นพื้นฐานของความเชื่อทั้งมวล” (เอลเลนจี. ไว้ท์, อุทาหรณ์จากคำสอนของพระคริสต์, หน้า 39, 40)
สิทธิอำนาจของครอบครัว หลักปรัชญา หรือวัฒนธรรม อาจเป็นหลุมพรางต่อต้านการยอมจำนนต่อพระวจนะของพระเจ้าอย่างไร
-----------------------------------------------------------------
April 14
Tuesday
วันอังคาร พระเยซูและพระคัมภีร์ทั้งเล่ม
Jesus and All Scripture
อ่านพระธรรมลูกา 24:13-35, 44, 45 พระเยซูทรงใช้พระคัมภีร์อย่างไรในการสอนเหล่าอัครทูตเรื่องข่าวสารพระกิตติคุณ
ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของพระคริสต์ เหล่าอัตรทูตของพระองค์พากันสับสน และมีความสงสัยว่าสิ่งนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ในบทนี้ของพระธรรมลูกาเราได้เห็นว่าพระเยซูทรงปรากฏตัวกับพวกเขาสองครั้ง ครั้งแรกทรงปรากฏแก่สาวกสองคนขณะกำลังเดินทางไปหมู่บ้านเอ็มมาอูส และทรงปรากฏแก่คนอื่นในเวลาต่อมา ในโอกาสทั้งสองแยกจากกัน พระเยซูทรงอธิบายว่าเหตุการณ์ทั้งหมดทำให้คำพยากรณ์ในพระคัมภีร์เดิมสำเร็จสมจริงว่า “แล้วพระองค์ทรงอธิบายพระคัมภีร์ที่เล็งถึงพระองค์ทุกข้อให้เขาฟัง เริ่มตั้งแต่โมเสสและบรรดาผู้เผยพระวจนะทั้งหมด” (ลูกา 24:27)
อีกครั้งหนึ่งในลูกา 24:44, 45 “พระองค์ตรัสกับเขาว่า “นี่เป็นถ้อยคำของเรา ซึ่งเราบอกไว้กับท่านทั้งหลายขณะที่เรายังอยู่กับท่านว่า บรรดาถ้อยคำที่เขียนไว้ในหมวดธรรมบัญญัติของโมเสส ในหมวดผู้เผยพระวจนะและในหมวดเพลงสดุดีที่กล่าวถึงเรานั้นจำเป็นจะต้องสำเร็จ” (ลูกา 24:44)“แล้วพระองค์ทรงช่วยให้ใจของพวกเขาสว่าง เพื่อจะได้เข้าในพระคัมภีร์”(ลูกา 24:45)
สังเกตข้ออ้างอิงเฉพาะใน ลูกา 24:27 “แล้วพระองค์ทรงอธิบายพระ-คัมภีร์ (ทั้งหมด) ที่เล็งถึงพระองค์ทุกข้อให้เขาฟัง” นี่เป็นการกล่าวย้ำครั้งที่สองดังมีข้อความว่า “ในหมวดธรรมบัญญัติของโมเสส ในหมวดผู้เผยพระวจนะ และในหมวดเพลงสดุดีที่กล่าวถึงเรานั้นจำเป็นจะต้องสำเร็จ” (ลูกา 24:44) ถ้อยคำดังกล่าวได้ถูกสถาปนาไว้แล้วอย่างชัดเจนว่า พระวจนะได้บังเกิดเป็นเนื้อหนัง (ยอห์น 1:1-3, 14) ซึ่งได้ไว้วางใจในสิทธิอำนาจของพระคัมภีร์เป็นแหล่งอธิบายสิ่งเหล่านี้ซึ่งได้พยากรณ์ไว้ล่วงหน้าหลายร้อยปี ด้วยการอ้างอิงพระคัมภีร์ทั้งเล่ม พระเยซูทรงสอนเหล่าอัครทูตและเหล่าสาวกโดยการทำเป็นตัวอย่าง ขณะที่พวกเขาออกไปเผยแพร่ข่าวสารพระกิตติคุณ พวกเขาก็เช่นกันได้อธิบายพระคัมภีร์ทั้งหมด เพื่อให้ผู้กลับใจใหม่ทั่วโลกเข้าใจถึงพลังอำนาจแห่งพระวจนะของพระเจ้า
สังเกตด้วยว่า พระธรรมมัทธิว 28:18-20 ที่พระเยซูทรงตรัสพระมหาบัญชาแก่เหล่าอัครทูตและสาวกทั้งปวง (และเราในปัจจุบันนี้ด้วย) ทรงตรัสให้การหนุนใจว่า “สิทธิอำนาจทั้งหมดในสวรรค์ก็ดี ในแผ่นดินโลกก็ดี ทรงมอบ ไว้แก่เราแล้ว” ปัจจุบันสิทธิอำนาจยังดำรงกับพระบิดา และพระเจ้าทั้งสามพระภาค ดังที่พระเยซูทรงตรัสกับเหล่าสาวกว่า “เพราะฉะนั้นท่านทั้งหลายจงออกไป และนำชนทุกชาติมาเป็นสาวกของเรา จงรับบัพติศมาพวกเขาในนามของพระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์” จากนั้นทรงตรัสข้อความที่เป็นดุจกุญแจว่า “และสอนพวกเขาให้ถือรักษาสิ่งสารพัดที่ได้สั่งพวกท่านไว้” พระเยซูทรงสอนและทรงบัญชาในสิ่งใด คสอนของพระองค์วางบนรากฐานของพระคัมภีร์ คือวางบนอำนาจแห่งคพยากรณ์ที่กล่าวในพระวจนะว่าพระองค์จะเสด็จมา และคำพยากรณ์เหล่านั้นได้สำเร็จสมจริงในพระคัมภีร์ ซึ่งบันทึกว่าพระเยซูทรงมอบถวายชีวิตของพระองค์เองให้เป็นไปตามน้ำพระทัยของพระบิดาของพระองค์
ถ้าพระเยซูทรงยอมรับพระคัมภีร์ทั้งเล่ม เหตุใดเราจึงไม่ทำอย่างเดียวกัน เราจะยอมรับพระคัมภีร์ทั้งเล่มได้อย่างไร แม้จะไม่ใช่ทุกข้อความในพระคัมภีร์ที่เราจะนำมาใช้ในปัจจุบัน นคำตอบไปอภิปรายในชั้นเรียนสะบาโต
-----------------------------------------------------------------
April 15
Wednesday
พุธ พระเยซูกับจุดเริ่มต้นและประวัติศาสตร์ของพระคัมภีร์
Jesus and the Origin and History of the Bible
พระเยซูทรงสอนว่าพระคัมภีร์เป็นพระวจนะของพระเจ้า ให้ความรู้สึกว่าพระคัมภีร์มีจุดเริ่มต้นจากพระเจ้า ดังนั้นพระคัมภีร์จึงสิทธิอำนาจสูงสุดเหนือชีวิต พระเจ้าทรงทำการผ่านประวัติศาสตร์เพื่อเปิดเผยพระทัยให้มนุษย์รู้ผ่านพระคัมภีร์ เช่น ในพระธรรมมัทธิว 19:4, 5 พระเยซูทรงอ้างถึงสิ่งที่โมเสสเขียนไว้ว่า “ท่านทั้งหลายไม่ได้อ่านหรือว่า พระผู้ทรงสร้างมนุษย์แต่เดิมนั้นทรงสร้างให้เป็นชายและหญิง และตรัสว่า เพราะเหตุนี้ผู้ชายจะละบิดามารดาไปผูกพันอยู่กับภรรยา และเขาทั้งสองจะเป็นเนื้อเดียวกัน” แทนที่พระเยซูจะตรัสว่า “พระคัมภีร์กล่าวว่า” แต่ตรัสว่า “ใครเป็นผู้ทรงสร้างพวกเขาแต่เริ่มแรก...ผู้เขียนให้เหตุผลสนับสนุนการทรงสร้าง ตามที่ได้พรรณนาไว้ในพระธรรมปฐมกาล ซึ่งที่จริงพระเจ้าทรงเป็นพระผู้สร้างและผู้ตรัสถ้อยคำที่ยกขึ้นมาอ้าง แต่พระเยซูทรงเอ่ยถึงโมเสสเพราะว่าข้อความดังกล่าวถูกเขียนโดยโมเสส
จากพระคัมภีร์ต่อไปนี้ พระเยซูทรงเข้าใจบุคคลในประวัติศาสตร์และเหตุการณ์ในพระคัมภีร์อย่างไร มัทธิว 12:3, 4; มาระโก 10:6-8; ลูกา 4:25-27; ลูกา 11:51; มัทธิว 24:38
พระเยซูทรงปฏิบัติต่อบุคคลในพระคัมภีร์เดิม สถานที่ และเหตุการณ์อย่างเป็นความจริงในประวัติศาสตร์ พระองค์ทรงอ้างถึงพระธรรมปฐมกาล บทที่ 1 และ 2 ทรงเอ่ยถึงอาเบลใน บทที่ 4 ดาวิดรับประทานขนมปังบริสุทธิ์ และเอลีชา ท่ามกลางบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ท่านอื่นๆ พระองค์ทรงกล่าวทวนถึงความทุกข์ยากลำบากของผู้เผยพระวจนะทั้งหลายในพระคัมภีร์เดิม (มัทธิว 5:12; มัทธิว 13:57; มัทธิว 23:34-36; มาระโก 6:4) ในเรื่องข่าวสารหรือการเตือน พระเยซูทรงพรรณนาถึงสมัยของโนอาห์ว่า “เพราะว่าก่อนวันน้ำท่วมนั้น คนทั้งหลายพากันกินดื่มกัน สมรสกัน และยกให้เป็นสามีภรรยากัน จนถึงวันที่โนอาห์เข้าไปในเรือใหญ่ และน้ำท่วมกวาดเอาพวกเขาไปทุกคน โดยไม่ทันรู้ตัวอย่างไร เมื่อบุตรมนุษย์เสด็จมาก็จะเป็นอย่างนั้น” (มัทธิว 24:38, 39) ข้อความนี้บ่งชี้ว่า พระองค์กำลังอ้างถึงพิพากษาครั้งใหญ่ของพระเจ้าในประวัติศาสตร
พระเยซูทรงอ้างถึงประวัติของบุคคลในพระคัมภีร์ว่าเป็นเรื่องจริง มีอะไรเกี่ยวกับการหลอกลวงของซาตานที่ผู้คนจำนวนมากในวันนี้ แม้กับบุคคลที่อ้างตนว่าเป็นคริสเตียนปฏิเสธการมีตัวตนของซาตานและพรรคพวกของมัน เหตุใดเราจะต้องไม่ตกลงสู่กับดักนั้น
-----------------------------------------------------------------
April 16
วันพฤหัสบดี เหล่าอัครทูตและพระคัมภีร์
The Apostles and the Bible
ผู้เผยพระวจนะในพระคัมภีร์ใหม่เข้าถึงพระคัมภีร์เดิมในลักษณะอย่างเดียวกับที่พระเยซูทำในเรื่องของหลักข้อเชื่อ จริยธรรม และคำพยากรณ์ที่สำเร็จสมจริง สำหรับพวกเขาแล้วพระคัมภีร์เดิมเป็นพระวจนะที่เป็นสิทธิอำนาจของพระเจ้า เราไม่ได้พบสิ่งใดที่ผู้เขียนพระคัมภีร์ใหม่พูดหรือเขียนในลักษณะท้าทายพระคัมภีร์เดิม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสิทธิอำนาจ หรือความน่าเชื่อถือของพระคัมภีร์เดิมส่วนใดส่วนหนึ่ง
ข้อความตอนต่อไปนี้ สอนเราเกี่ยวกับเหล่าอัครทูตว่าเข้าใจเรื่องสิทธิอำนาจแห่งพระวจนะของพระเจ้าอย่างไร กิจการฯ 4:24-26; กิจการฯ 13:32-36; โรม 9:17; กาลาเทีย 3:8
สังเกตข้อความในข้อพระคัมภีร์เหล่านี้ ว่ามีความเกี่ยวข้องกับเนื้อหาตอนอื่นๆ ซึ่งเป็นเสียงของพระเจ้าเองเพียงใด ในกิจการฯ บทที่ 4 ก่อนที่เหล่าอัครทูต และเหล่าสาวกจะได้รับการเติมเต็มด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์ พวกเขาได้สรรเสริญพระเจ้าที่ทรงปลดปล่อยเปโตรและยอห์น พวกเขาส่งเสียงดัง เป็นการยอมรับว่าพระเจ้าทรงเป็นพระผู้สร้าง และตรัสผ่านกษัตริย์ดาวิดผู้ใช้ของพระองค์ ในกิจการฯ 13:32-36 เปาโลยกคำของกษัตริย์ดาวิดมาอ้างในพระธรรมกิจการฯ 13:32 ว่า “เรานำข่าวประเสริฐนี้มา แจ้งกับท่านทั้งหลายว่า พระสัญญาที่ประทานแก่บรรดาบรรพบุรุษของเรานั้น พระเจ้าทรงให้สำเร็จตามนั้นเพื่อเรา”
ในพระธรรมโรม 9:17 กล่าวว่า “เพราะมีข้อพระคัมภีร์ที่กล่าวแก่ฟาโรห์ว่า ‘เพราะเหตุนี้เองเราจึงได้ตั้งเจ้าขึ้น เพื่อเราจะสำแดงฤทธานุภาพของเราให้ปรากฏทางตัวเจ้า และเพื่อให้นามของเราประกาศไปทั่วโลก’” ตรงนี้คนคาดว่าพระเจ้าทรงเป็นประธาน อัครทูตเปาโลใช้คำว่า “พระคัมภีร์” ด้วยการกล่าวว่า “เพราะมีข้อพระคัมภีร์ที่กล่าวแก่ฟาโรห์” ใน กาลาเทีย 3:8 ประธานคือ “พระคัมภีร์” ถูกใช้แทนที่คำว่า “พระเจ้า” เป็นการแสดงให้เห็นคำว่า “พระเจ้า” ทรงผูกพันใกล้ชิดกับ “พระวจนะของพระเจ้า” เสมือนเป็นพระเจ้าเอง
ที่จริงแล้ว ผู้เขียนพระคัมภีร์ใหม่ต่างไว้วางใจว่าพระคัมภีร์เดิมเป็นพระวจนะของพระเจ้าไม่แตกต่างกัน ผู้เขียนพระคัมภีร์ใหม่ ยกถ้อยคำของพระคัมภีร์เดิมมาอ้างอิงมากกว่าสองพันแห่ง นักศึกษาพระคัมภีร์คนหนึ่งได้รวบรวมข้ออ้างอิงดังกล่าวได้ถึง 2,688 แห่ง ตัวอย่างอ้างอิงเจาะจงจากพระ-ธรรมอิสยาห์ 400 แห่งจากสดุดี 370 แห่ง จากอพยพ 220 แห่ง และจากพระธรรมเล่มอื่นๆ ถ้ามีคนหนึ่งค้น ก็จะพบข้ออ้างอิงเพิ่มกว่านี้ อันอาจรวมถึงการพาดพิง หัวข้อ และความคิด หรืออื่นๆ จำนวนครั้งก็จะเพิ่มมากกว่านี้ จึงกล่าวได้ว่าพระคัมภีร์ใหม่เต็มไปด้วยข้ออ้างและคำพยากรณ์จากพระคัมภีร์
เดิม ซึ่งบ่อยครั้งเริ่มต้นด้วยการแนะนำว่า “มีคำเขียนไว้ว่า” (มัทธิว 2:5; มาระโก 1:2, 7:6; ลูกา 2:23, 3:4; โรม 3:4, 8:36, 9:33; 1 โครินธ์ 1:19;กาลาเทีย 4:27; 1 เปโตร 1:16) ทั้งหมดนี้ให้การยืนยันว่าพระคัมภีร์เดิมเป็นพื้นฐานที่คำสอนของพระคริสต์ และเหล่าอัครทูตนำมาใช้เป็นหลัก
ตัวอย่างเหล่านี้ควรสอนเราว่า การเชื่อและวางใจสิทธิอำนาจของพระคัมภีร์น้อยลงเป็นอันตรายอย่างไร
-----------------------------------------------------------------
April 17
วันศุกร์ ศึกษาเพิ่มเติม:
อ่านจากหนังสือของ เอลเลน จี. ไว้ท์, ขณะที่ทรงพระเยาว์ ผู้พึงปรารถนาแห่งปวงชน, หน้า 68-74 และการทดลอง, หน้า 114-123 (Desire of ages, Ellen G.White)
“บางคนคิดในใจว่าพวกเขาฉลาดกว่าพระวจนะของพระเจ้า ฉลาดกว่าแม้แต่พระเจ้า และแทนที่จะวางเท้าของพวกเขาบนพื้นฐานอันไม่อาจเคลื่อนไหวได้ และนำทุกสิ่งเพื่อการทดสอบพระวจนะของพระเจ้า พวกเขาทดสอบพระวจนะตามหลักวิทยาศาสตร์ และธรรมชาติตามแนวคิดของพวกเขาเอง และถ้าดูเหมือนไม่สอดคล้องกับแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ก็ทิ้งไป โดยเห็นว่าไม่มีคุณค่าต่อความเชื่อถือ” (เอลเลน จี. ไว้ท์, Signs of the Times, 27 มีนาคม 1884, หน้า 1)
“เหล่าผู้คุ้นเคยกับพระปัญญา และพระประสงค์ของพระเจ้าอย่างดีที่สุด ซึ่งเผยให้เห็นในพระวจนะของพระองค์ พวกเขากลายเป็นชายและหญิงที่มีจิตใจเข้มแข็ง และพวกเขาอาจกลายเป็นคนงานที่มีประสิทธิภาพจากการเรียนรู้จากนักการศึกษาผู้ยิ่งใหญ่ คือพระเยซูคริสต์...พระคริสต์ทรงประทานผู้รับใช้ของพระองค์ด้วยถ้อยคำแห่งความจริง และพวกเขาทุกคนถูกเรียกให้มีส่วนในการทำความจริงให้ประจักษ์ต่อโลก...ไม่มีการชำระให้บริสุทธิ์ต่อเนื่อง (sanctification) อื่นใดนอกเหนือไปจากความจริง คือพระวจนะของพระเจ้า เรื่องนี้มีความจำเป็นมากเพียงใดที่ทุกคนควรจะได้เข้าใจ” (เอลเลน จี. ไว้ท์, Fundamentals of Christian Education, หน้า 432)
คำถามเพื่อการอภิปราย:
1. ถ้าพระเยซู เหล่าผู้เขียนพระกิตติคุณและอัครทูตเปาโล ปฏิบัติ ต่อพระคัมภีร์เดิมว่าเป็นพระวจนะของของพระเจ้า สิ่งนี้ควรบอก อะไรเราเกี่ยวกับแนวคิดของคนสมัยใหม่บางคนที่มีต่อพระคัมภีร์ ว่าเป็นสิ่งไม่ถูกต้อง เพราะเหตุใดเราจึงไม่ควรหลงไปกับคำโต้ แย้งเหล่านี้
2. มีคนมากมายในยุคนี้ที่สงสัยเรื่องราวในพระคัมภีร์ ดังนี้ (1) ไม่ เชื่อว่าพระเจ้าทรงสร้างโลกในหกวัน ที่หนึ่งวันเท่ากับ 24 ชั่วโมง น่าจะเป็นเวลาหลายพันล้านปี ตามลักษณะของทฤษฎีวิวัฒนาการ (2) อาดัมไม่น่าจะปราศจากบาปเพราะอาศัยอยู่ในโลกแห่งความ บาป (3) ไม่เชื่อเรื่องน้ำท่วมโลก (4) ไม่ยอมรับว่าอัราฮัมเป็น บุคคลที่มีตัวตนจริง (5) ไม่เชื่อเรื่องในพระธรรมอพยพ (6) ไม่เชื่อ การอัศจรรย์ที่พระเยซูทรงทำและ (7) ไม่เชื่อคำพยากรณ์ที่ พยากรณ์ล่วงหน้าหลายพันปี สิ่งนี้สอนให้เราเข้าใจความคิดของ คนเหล่านี้อย่างไร และเราจะช่วยพวกเขาให้เข้าใจได้อย่างไร
3. จากคำถามตอนท้ายของหัวข้อศึกษาวันอังคาร เราเข้าใจว่าผู้เผย พระวจนะได้รับการดลใจให้เขียนพระคัมภีร์ทั้ง 66 เล่ม ขึ้น อย่างไร แม้จะอีกหลายส่วนของพระคัมภีร์ที่ไม่จำเป็นต้องนำไป ปฏิบัติแล้วก็ตาม