บทที่ 6
สาเหตุที่จำเป็นต้องตีความหมาย
Why Is Interpretation Needed
วันที่ 2 – 8 พฤษภาคม 2020
บ่ายวันสะบาโต
บ่ายวันสะบาโต 2 พฤษภาคม 2020
อ่านข้อพระคัมภีร์สำหรับบทเรียนสัปดาห์นี้ ลูกา 24:36-45; 1 โครินธ์ 12:10; 1 โครินธ์ 14:26; กิจการฯ 17:16-32; ยอห์น 12:42, 43
ข้อควรจำ
“แต่ถ้าไม่มีความเชื่อแล้ว จะเป็นที่พอพระทัยพระเจ้าก็ไม่ได้เลย เพราะว่าผู้ที่จะมาเฝ้าพระเจ้านั้น ต้องเชื่อว่าพระองค์ทรงดำรงพระชนม์อยู่ และพระองค์ทรงเป็นผู้ประทานบำเหน็จแก่คนเหล่านั้นที่แสวงหาพระองค์” (ฮีบรู 11:6)
การอ่านพระคัมภีร์ก็เป็นการตีความหมายพระคัมภีร์ แต่เราจะใช้หลักการอะไร เราอาจพบข้อเขียนประเภทต่างๆ เช่น คำอุปมา คำพยากรณ์ที่เป็นสัญลักษณ์ที่ปรากฏในความฝัน หรือเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ การแยกประเภทและการตีความหมายเป็นเรื่องสำคัญสำหรับแต่ละบริบทที่อ่าน
บางคนใช้พระคัมภีร์เหมือนคำทำนาย คือเปิดแบบสุ่มเพื่อหาพระคัมภีร์สักข้อที่หวังว่าจะให้คำแนะนำเพื่อแก้ใช้ในการตัดสินใจหรือแก้ปัญหา แต่วิธีนี้จะทำให้เกิดผลที่แตกต่างและผิดพลาดได้
ตัวอย่างเช่น เมื่อสามีออกจากบ้านตอนกลางคืนไปหาหญิงอื่น ภรรยาก็อธิษฐานและเปิดพระคัมภีร์ เธอพบข้อพระคัมภีร์ในปฐมกาล 3:15 ที่เขียนว่า
“เราจะให้เจ้ากับหญิงนั้นเป็นศัตรูกัน” เธอมั่นใจว่า ความสัมพันธ์ระหว่างสามีของเธอและผู้หญิงคนนั้นจะไม่ยืนยาว เพราะพระเจ้าอยู่ฝ่ายเธอ การอ่านพระ-คัมภีร์โดยไม่ดูบริบทให้ชัดเจน ไม่นานพระคัมภีร์ข้อนั้นจะกลายเป็นข้อแก้ตัว จึงจำเป็นต้องดูความหมายให้ถูกต้องด้วย
-----------------------------------------------
วันอาทิตย์ 3 พฤษภาคม 2020
การสันนิษฐานล่วงหน้า Presuppositions
อ่านพระธรรมลูกา 24:36-45 มีอะไรเกิดกับเหล่าสาวกที่คุ้นเคยกับพระคัมภีร์ แต่ไม่เข้าใจความหมายที่แท้จริงของพระคัมภีร์และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ไม่มีใครเข้าหาพระคัมภีร์ด้วยจิตที่ว่างเปล่า ทุกคนเข้าหาพระคัมภีร์ด้วยประสบการณ์ส่วนตัว ซึ่งส่งผลต่อการตีความหมายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้แต่เหล่าสาวกก็ยังมีความคิดเฉพาะของพวกเขาว่า ใครคือพระเมสสิยาห์ และพระองค์ถูกคาดหวังอย่างไร ความมั่นใจอย่างหนักแน่นของพวกเขากีดกั้นไม่ให้พวกเขาเข้าใจพระคัมภีร์อย่างถูกต้อง พวกเขาจึงเข้าใจพระเยซูและเหตุการณ์ต่างๆ ผิดได้
เราทั้งปวงยึดมั่นในสิ่งเราเชื่อเกี่ยวกับโลก ความเป็นจริงสูงสุด พระเจ้า และอื่นๆ เรามีการสันนิษฐานล่วงหน้าโดยไม่รู้ตัว เมื่อเราตีความหมายพระ-คัมภีร์ ไม่มีใครเข้าหาพระคัมภีร์ด้วยจิตที่ว่างเปล่า บางคนไม่ยอมรับความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งเหนือธรรมชาติที่พระเจ้าทรงแทรกแซง บุคคลนั้นจะไม่เข้าใจพระคัมภีร์ว่าเป็นบันทึกความจริงที่พระเจ้าทรงทำในประวัติศาสตร์ แต่จะตีความหมายพระคัมภีร์ต่างออกไปจากผู้ที่ยอมรับว่าสิ่งเหนือธรรมชาติว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้จริง
การตีความหมายของพระคัมภีร์ไม่อาจทิ้งเหตุการณ์ที่เกิดในอดีต สถานที่ แนวคิด และอคติหรือความเชื่อ การที่จะเป็นกลาง หรือการยึดถือข้อเท็จจริงภายนอกอย่างเด็ดขาด ไม่อาจทำได้เบ็ดเสร็จ การศึกษาพระคัมภีร์และศาสนศาสตร์ต่อต้านการสันนิษฐานล่วงหน้าเกี่ยวกับธรรมชาติของโลกและธรรมชาติของพระเจ้า
ข่าวดีคือพระวิญญาณบริสุทธิ์สามารถเปิดตาออกและแก้ไขเราให้เห็นความจริงและความเชื่อที่เป็นอคติได้ เมื่อเราอ่านพระคัมภีร์ด้วยจิตใจที่เปิดออกและสัตย์ซื่อ พระคัมภีร์จะให้ความมั่นใจได้ แม้กับบุคคลที่มีพื้นฐานที่แตกต่างมากก็สามารถเข้าใจพระวจนะของพระเจ้าได้ เพราะ “พระวิญญาณบริสุทธิ์จะนำพวกท่านไปสู่ความจริงทั้งมวล” (ยอห์น 16:13)
ท่านมีการสันนิษฐานเกี่ยวกับโลกอย่างไร ท่านจะอุทิศตัวให้พระวจนะของพระเจ้า เพื่อให้พระวจนะหล่อหลอมความคิดของท่านให้สอดคล้องกับความจริงที่พระคัมภีร์สอนได้อย่างไร
----------------------------------------------
วันจันทร์ 4 พฤษภาคม 2020
การแปลและการตีความหมาย
Translation and Interpretation
พระคัมภีร์ถูกเขียนขึ้นเป็นภาษายุคโบราณ ส่วนใหญ่เป็นภาษาฮีบรู มีไม่กี่ตอนที่เป็นภาษาอาราเมค ส่วนพระคัมภีร์ใหม่เขียนขึ้นเป็นภาษากรีกโบราณ ที่คนในปัจจุบันนี้ไม่พูดแล้ว พระคัมภีร์จึงจำเป็นต้องได้รับการแปลเป็นภาษาสมัยใหม่หลายภาษา
แต่งานแปลทุกชิ้นจะต้องมีการตีความหมายไม่มากก็น้อยบางคำในภาษาหนึ่งอาจไม่มีคำแปลตรงตัวในอีกภาษาหนึ่ง ผู้แปลต้องใช้ศิลปะและความชำนาญอย่างระมัดระวังในการแปลและตีความหมายที่เรียกว่า“hermneutics”(อรรถปริวรรตศาสตร์)
อ่าน พระธรรม 1 โครินธ์ 12:10;1 โครินธ์ 14:26; ยอห์น 1:41, 9:7; กิจการฯ 9:36และลูกา24:27 ข้อพระคัมภีร์เหล่านี้ช่วยให้เราเห็นแนวคิดในการตีความหมายและการแปลอย่างไร ส่วนในลูกา 24:27 การที่พระเยซูอธิบายของพระคัมภีร์นี้ให้เหล่าสาวก ทำให้เราเห็นความสำคัญของการตีความหมายอย่างไร
คำว่า“hermeneuo”ในภาษากรีกถูกแปลงเป็นภาษาอังกฤษว่า “hermeneutics”หมายถึง“การตีความหมายพระคัมภีร์”คำนี้เป็นชื่อของเทพ “Hermes” (เฮอร์เมส) ที่เป็นผู้สื่อข่าวของเทพเจ้าทั้งหลาย ในฐานะที่ เป็นผู้รับผิดชอบงานด้านนี้ การแปลข่าวสารของพระเจ้าสำ หรับประชาชนจึง สำ คัญมาก สิ่งที่สำ คัญที่สุดสำ หรับเราคือการตีความหมายพระคัมภีร์ นอกจากเรา จะอ่านภาษาเดิมได้เท่านั้น การที่จะเข้าถึงความจริงได้ต้องมีการแปล เป็น เรื่องน่ายินดีที่พระคัมภีร์หลายฉบับแปลได้ดีมาก ดังนั้นแม้เราจะไม่จะรู้จัก ภาษาเดิมของพระคัมภีร์ เราก็สามารถเข้าใจความหมายสำ คัญที่พระเจ้าทรง เปิดเผยนผ่านพระคัมภีร์ได้ แม้ว่าการรู้ในภาษาเดิมจะมีประโยชน์มาก แต่ พระคัมภีร์ที่แปลได้ดีและการตีความหมายพระคัมภีร์ได้อย่างเหมาะสมก็ สำ คัญมาก ดังที่เราเห็นในลูกา 24:27 ที่เป็นกุญแจของการตีความหมาย พระคัมภีร์ ให้คนอื่นเข้าใจถูกต้องตามความจริง
หลายคนมีโอกาสเข้าถึงพระคัมภีร์ฉบับแปลหลายฉบับ แต่บาง คนอาจไม่มีโอกาสเช่นนั้น ไม่ว่าคุณจะใช้พระคัมภีร์ฉบับใด เราควรใช้ เวลาในการศึกษาและแปลความหมาย
-------------------------------------------
วันอังคาร 5 พฤษภาคม 2020
พระคัมภีร์และวัฒนธรรม The Bible and Culture
อ่านพระธรรมกิจการฯ 17:16-32 อัครทูตเปาโลพยายามสื่อพระกิตติคุณด้วยวิธีใหม่ คือใช้หลักปรัชญาตามวัฒนธรรมของชาวกรีก เพื่อเข้าหาชาวกรีก ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร ถ้าเราจะเข้าถึงคนต่างวัฒนธรรมด้วยวิธีที่เปาโลใช้ และเราจะประเมินผลจากวิธีนั้นได้อย่างไร
ภูมิหลังความรู้ด้านวัฒนธรรมของตะวันออกใกล้ช่วยเราได้มาก ทำให้เข้าใจเนื้อหาบางตอนของพระคัมภีร์ เช่น วัฒนธรรมของชาวฮีบรู มีการยกความดีให้บุคคลที่ไม่ได้ทำโดยตรง แต่ได้อนุญาตให้เกิดขึ้น ดังนั้นผู้ที่ได้รับการดลใจให้เขียนพระคัมภีร์จึงยกความดีให้พระเจ้า ในขณะที่ความคิดของชาวตะวันตก จะเห็นว่าเพราะพระองค์ทรงอนุญาต หรือไม่ทรงขัดขวางจากการเกิดขึ้น เช่น พระเจ้าทรงทำให้ดวงใจของฟาโรห์แข็งกระด้าง” (จาก “วิธีการศึกษาพระคัมภีร์” ตอนที่ 4)
คำถามเกี่ยวกับการตีความหมายพระคัมภีร์คือ วัฒนธรรมของพระคัมภีร์ยังเป็นเงื่อนไขอยู่ไหม หรือเฉพาะวัฒนธรรมที่เกี่ยวพันเหมือนเครือญาติเท่านั้นที่ยังอ้างสิทธิ์ได้ เมื่อข่าวสารของพระเจ้าถูกประทานให้เฉพาะบางวัฒนธรรม และมอบหมายให้ผู้อยู่ในวัฒนธรรมนั้นประกาศกับมนุษย์ทั้งมวล จะมีอะไรเกิดขึ้นถ้าคนที่ได้รับข่าวสารได้กลายเป็นพื้นฐานที่ใช้ทดสอบและตีความหมาย
ใน กิจการฯ 17:26 อัครทูตเปาโลได้ชี้ให้เห็นส่วนที่บ่อยครั้งคนมองข้ามไปว่า พระเจ้าทรงสร้างเราทั้งปวงด้วยสายโลหิตเดียวกัน แม้ว่าเราจะมีวัฒนธรรมแตกต่างกัน พระคัมภีร์พูดถึงสายสัมพันธ์อันเดียวกันที่ผูกพันมนุษย์ทั้งหมดเข้าด้วยกันจากการทรงสร้างของพระเจ้า ความบาปทำให้ทุกคนต้องการความรอดที่ไม่จำกัดอยู่ที่วัฒนธรรมเดียว ทุกคนต้องการความรอดที่พระ-คริสต์ทรงเสนอให้โดยการสิ้นพระชนม์และการฟื้นพระชนม์ของพระพระองค์
แม้พระเจ้าจะตรัสผ่านคนบางรุ่น แต่พระองค์ทรงเห็นว่ารุ่นต่อไปในอนาคตจะอ่านพระวจนะและเข้าใจความจริงเหล่านั้น และความจริงจะอยู่ต่อไปผ่านข้อจำกัดของสถานการณ์ในการเขียน
วิชาพีชคณิต (algebra) ที่สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 9 ณ กรุงแบกแดด ไม่ได้ถูกจำกัดให้ใช้ได้เฉพาะเวลาและสถานที่แห่งนั้นเท่านั้น
เช่นเดียวกับความจริงแห่งพระวจนะของพระเจ้า แม้จะถูกเขียนนานมาแล้ว ในวัฒนธรรมที่แตกต่างจากเราในเวลานี้มาก แต่ความจริงที่อยู่ในพระคัมภีร์ยังคงมีคุณค่า มีความถูกต้อง และมีประโยชน์เหมือนตอนที่เขียนขึ้นในครั้งแรก
-----------------------------------------------
พุธ 6 พฤษภาคม 2020
ธรรมชาติของความบาปและการล้มลง Our Sinful and Fallen Nature
อ่านพระธรรมยอห์น 9:39-41 และ ยอห์น 12:42, 43 มีอะไรขัดขวางผู้คนไม่ให้รับความจริง ข้อความใดที่เราต้องระมัดระวังเพื่อจะไม่เหมือนคนเหล่านี้
เป็นการง่ายเพียงใดที่จะมองย้อนกลับไป และเห็นสายตาดูหมิ่นของผู้นำศาสนาที่ปฏิเสธพระเยซู แม้ว่าพวกเขาจะเห็นหลักฐานที่มีพลัง เราจำเป็นต้องระวังตัวเองในการเข้าหาพระวจนะของพระเจ้า
ความบาปทำให้ลืมตัว และทำลายความสัมพันธ์ระหว่างเรากับพระเจ้า ความบาปส่งผลต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์ทุกคน ซ้ำมันยังส่งผลต่อความสามารถในการตีความหมายพระคัมภีร์ด้วย แม้ความคิดของมนุษย์ก็ถูกนำไปสู่ความบาป ดังนั้นเมื่อจิตใจและความคิดของเราได้เสื่อมทรามไปเพราะความบาป ใจของเราจึงปิดไม่รับความจริงของพระเจ้า และติดตามนิสัยของความเสื่อมทรามนี้ไป ซึ่งสามารถพบได้จากความคิดของเรา ไม่ว่าจะเป็นความหยิ่ง การหลอกตัวเอง ความสงสัย การแยกตัว และการไม่เชื่อฟัง
บุคคลที่หยิ่งจะยกตนขึ้นเหนือพระเจ้าและพระวจนะของพระองค์ ความหยิ่งนำไปสู่การตีความหมายที่เน้นเหตุผลของมนุษย์มากเกิน ซึ่งสุดท้ายจะนำไปสู่การเป็นผู้ตัดสินความจริงในพระคัมภีร์ ท่าทีเช่นนี้เท่ากับลดสิทธิอำนาจของพระเจ้าให้น้อยลงไป
บางคนมีความโน้มเอียงที่จะฟังแต่แนวคิดที่ดึงดูดใจตน ซึ่งขัดกับพระทัยของพระเจ้า พระเจ้าทรงเตือนเราถึงอันตรายของการหลอกลวงตัวเอง (วิวรณ์ 3:17) ความบาปเลี้ยงความสงสัยที่ทำให้เราหวั่นไหว และไม่เชื่อพระ-วจนะของพระเจ้า เมื่อคนหนึ่งมีความสงสัย การตีความหมายพระคัมภีร์จะไม่มีวันนไปสู่ความถูกต้อง นอกจากนี้ผู้ขี้สงสัยจะเป็นคนที่ยกตนขึ้น สิ่งที่เขาตัดสินไม่เป็นที่ยอมรับตามพระคัมภีร์
เราควรเข้าหาพระคัมภีร์ด้วยความเชื่อและยอมจำนน ปราศจากการวิพากษ์วิจารณ์และความสงสัย ความสงสัยนำเราให้ห่างไปจากพระเจ้าและพระคัมภีร์ สุดท้ายจะนำไปสู่การไม่เชื่อฟัง คือไม่เต็มใจที่จะติดตามน้ำพระทัยของพระเจ้าที่เปิดเผยให้ทราบ
ท่านเคยพบว่าตนกำลังต่อสู้กับความเชื่อมั่น จากสิ่งที่อ่านในพระคัมภีร์หรือไม่ เช่นพระคัมภีร์ชี้ให้ทำสิ่งหนึ่ง แต่ท่านต้องการทำสิ่งอื่น และท่านได้รเรียนรู้อะไรจากประสบการณ์เช่นน
-------------------------------------------------------
วันพฤหัสบดี 7 พฤษภาคม 2020
สาเหตที่การตีความหมายมีความสำคัญ
Why Interpretation Is Important
อ่านพระธรรมเนหะมีย์8:1-3,8 เพราะเหตุใดการเข้าใจพระคัมภีร์อย่างชัดเจนจึงสำคัญมากสำหรับเราไม่เพียงแต่สำหรับบุคคลเท่านั้นแต่สำหรับคริสตจักรด้วย
คำถามที่สำคัญที่สุดในพระคัมภีร์ คือเรื่องความรอด เราจะรอดได้อย่างไร มีอะไรอื่นอีกที่สำคัญที่สุดในระยะยาวของชีวิต และอะไรคือสิ่งที่ดี ตามที่พระเยซูตรัสว่า “เพราะเขาจะได้ประโยชน์อะไร ถ้าได้สิ่งของหมดทั้งโลก แต่ต้องเสียชีวิตของตน” (มัทธิว 16:26)
แต่การจะทราบสิ่งที่พระคัมภีร์สอนเกี่ยวกับความรอดขึ้นอยู่กับการตีความหมาย ถ้าเราเข้าหาและตีความหมายพระคัมภีร์ผิด เราจะสรุปผิดด้วย ไม่เพียงแต่เรื่องความรอดเท่านั้นแต่เรื่องอื่นด้วย และถ้าเรามีข่าวสารที่จะให้กับโลก แต่เราสับสนเกี่ยวกับความหมายของข่าวสาร เราจะประกาศข่าวสารอย่างมีประสิทธิภาพให้คนอื่นได้อย่างไร
อ่านข่าวของทูตสวรรค์สามองค์ในวิวรณ์ 14:6-12 อะไรคือประเด็นด้านศาสนศาสตร์ตรงนี้ เพราะเหตุใดการเข้าใจข่าวสารอย่างถูกต้องจึงมีความสำคัญต่อพันธกิจการประกาศของเรา
--------------------------------------------------------
วันศุกร์ 8 พฤษภาคม 2020
ศึกษาเพิ่มเติม:
อ่านหนังสือของ เอลเลน จี. ไว้ท์, ทำอะไรกับความสงสัย, สันติวิถี, หน้า 105-113 และอ่านจากเอกสาร “Methods of Bible Study” Section 1: “Bible Study: Presuppositions, Principles, and Methods” Section 2: Presupposition Arising from the Claim of Scripture” and Section 3; “Principles for Approaching the Interpretation of Scripture” (Methods of Bible Study can be found at www.Adventisbiblicalresearch.org/metherials/Bible-interpretation-hermeneutics/methods-bible-study)
“ในการศึกษาพระวจนะจงทิ้งการสืบสวนและความคิดเห็นไว้ที่ประตูก่อน รวมถึงแนวคิดที่ปลูกฝังไว้ ท่านจะเข้าไม่ถึงความจริงถ้าท่านศึกษาพระ-คัมภีร์เพื่อพิสูจน์แนวคิดของท่าน จงวางสิ่งเหล่านี้ไว้ที่หน้าประตู ด้วยดวงใจที่สำนึกผิด จงเข้าไปเพื่อรับฟังว่าองค์พระผู้เป็นเจ้าจะตรัสอะไรกับท่าน ในฐานะเป็นผู้ที่แสวงหาความจริงด้วยความถ่อมใจ จงนั่งลงที่พระบาทของพระคริสต์ และเรียนรู้จากพระองค์ ผู้ทรงประทานความเข้าใจให้ สำหรับบางคนที่ฉลาดเกินไป จากความหยิ่ง ความถือดีเมื่อพวกเขาศึกษาพระคัมภีร์ พระคริสต์ตรัสว่า ท่านต้องกลายเป็นคนสุภาพอ่อนโยน ถ้าท่านปรารถนาเป็นคนฉลาดและได้รับความรอด”
“อย่าอ่านพระวจนะตามของความคิดเห็นที่ผ่านมา แต่ด้วยดวงจิตที่ปราศจากอคติ จงแสวงหาอย่างระมัดระวังพร้อมกับอธิษฐานอย่างจริงใจ ขณะที่ท่านกำลังอ่านพระวจนะ ความมั่นใจจะเข้ามา และท่านจะพบว่า ความคิดเห็นที่ท่านเก็บไว้ในสมองไม่สอดคล้องกับพระวจนะ จงอย่าพยายามแสวงหาพระวจนะเพื่อนำมารับรองความคิดของท่าน แต่จงปรับเปลี่ยนความเห็นของท่านให้สอดคล้องกับพระวจนะ อย่าปล่อยให้สิ่งที่ท่านเชื่อ หรือได้ปฏิบัติมาในอดีตเป็นตัวควบคุมความเข้าใจของท่าน จงเปิดตาและใจดูสิ่งอัศจรรย์ที่ส่องมาจากพระบัญญัติ จงค้นหาว่ามีอะไรเขียนไว้ตรงนั้น จากนั้นจงวางเท้าของท่านลงบนศิลานิรันดร์” (เอลเลน จี. ไว้ท์, ข่าวประเสริฐสำหรับเยาวชน, หน้า 260)
คำถามเพื่อการอภิปราย:
1. ความคิดเห็น การศึกษา และวัฒนธรรมมีอิทธิพลต่อการตีความ หมายพระคัมภีร์ของเราอย่างไร เพราะเหตุใดจึงสำคัญสำหรับเรา ที่จะรู้ถึงอิทธิพลเหล่านี้
2. เราทุกคนเป็นคนบาป และได้รับอิทธิพลจากความบาป ความ บาปมีผลต่อการอ่านพระวจนะของพระเจ้าอย่างไร และทำอย่างไร เราจึงจะไม่ตีความหมายพระคัมภีร์ไปตามที่เราต้องการ
3. การที่เราเข้าใจเวลาและวัฒนธรรมในพระคัมภีร์ จะช่วยให้เรา เข้าใจเนื้อหาในพระคัมภีร์ดีขึ้นได้อย่างไร จงยกตัวอย่างและ อธิบาย
Previous/บทที่แล้ว Nex/บทต่อไป Contents/สารบํญ